นายปิติ ตัณฑเกษม ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารทหารไทยธนชาต (ทีทีบี) เปิดเผยว่า ในปี 66 ธนาคารพาณิชย์แต่ละแห่งมีภาระต้นทุนที่เพิ่มขึ้น 2 เรื่องทั้งธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เตรียมขึ้นดอกเบี้ยนโยบายเพิ่ม และจากการกลับมาจ่ายเงินนำส่งของสถาบันการเงินให้กับกองทุนฟื้นฟูเพื่อพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (เอฟไอดีเอฟ) จากลดให้ช่วงโควิด 0.23% มาอยู่ที่ 0.46% ต่อปี ทำให้ในส่วนของธนาคารทีทีบี จะต้องขึ้นดอกเบี้ยฝั่งสินเชื่ออย่างน้อย 0.50-0.60% ในปี 66 เนื่องจากมีภาระต้นทุนทางการเงินเพิ่มขึ้น ซึ่งในแต่ละธนาคารจะขึ้นดอกเบี้ยมีความแตกต่างกันแล้วแต่โครงสร้างแต่ละแห่ง
ทั้งนี้ เชื่อว่าแม้ธนาคารพาณิชย์จะมีภาระต้นทุนที่เพิ่มขึ้นแต่การส่งผ่านไปยังลูกค้าจะทำอย่างค่อยเป็นค่อยไป จะไม่ขึ้นเต็มแรงในครั้งเดียว เพื่อไม่ให้ลูกค้าได้รับผลกระทบ และธนาคารพาณิชย์คงต้องบริหารจัดการต้นทุนนี้ในปี 66 พร้อมดูแลลูกค้ากลุ่มเปราะบาง โดยยอมรับว่าในปี 66 จะเป็นปีแห่งความท้าทายในเรื่องการบริหารจัดการ จากที่ลูกค้าได้รับผลกระทบทั้งเศรษฐกิจถดถอย และเงินเฟ้อสูง หลังจากเพิ่งฟื้นกลับมาได้จากวิกฤติโควิด-19 ที่ผ่านมา
สำหรับในไตรมาส 4 ปีนี้ผลกระทบยังไม่สูงมาก เพราะดอกเบี้ยนโยบายได้ทยอยขึ้น และไม่ได้ส่งผ่านต้นทุนไปสู่ระบบมาก และยังปรับขึ้นเงินฝากให้ลูกค้าอีกด้วย แต่อย่างไรก็ตามไปฝืนะรรมชาติไม่ได้ เพราะมีปัจจัยภายนอก เช่น ธนาคารกลางสหรัฐ หรือเฟด ได้เร่งขึ้นดอกเบี้ย 0.75% แม้จะไม่ได้ขึ้นรุนแรงเหมือนในอดีตที่เคยใช้ยาแรง แต่เฟดได้ส่งสัญญาณว่าจะต้องควบคุมเงินเฟ้อให้ได้ และต้องแลกกับเศรษฐกิจที่จะถดถอย ซึ่งจะส่งผลกระทบมายังการส่งออกของไทยและการท่องเที่ยวไทยคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
“ไทยจะได้รับผลกระทบด้านการส่งออก เพราะหากเศรษฐกิจโลกถดถอยทำให้คนบริโภคลดลง การส่งออกก็จะลดลง และถ้าคนไม่มีเงิน การท่องเที่ยวมาไทยก็จะน้อยลงด้วย แม้ ธปท.ไม่ได้ขึ้นดอกเบี้ยเร็วและมากเหมือนกับเฟด แต่เรื่องที่หนีไม่พ้นคือ ธนาคารพาณิชย์ต้องขึ้นดอกเบี้ยเงินกู้ ทำให้ธนาคารต้องดูแลกลุ่มเปราะบางเหล่านี้ไปพร้อมกันด้วย ซึ่งหาก ธปท.ไม่ขึ้นดอกเบี้ย ก็จะมีความเสี่ยงเรื่องเงินทุนไหลออกด้วยเช่นกัน”